วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558







การเลือกตั้ง คือการที่ราษฏรใช้สิทธิของตนเองลงคะแนนเสียงเลือกตัวแทนเพื่อทำหน้าที่แทนในการปกครองแต่ละระดับโดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 
1. ระดับชาติ
     1.1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร(ส.ส.)ทั้ง แบบบัญชีรายชื่อ   แบบแบ่งเขต
     1.2 การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)
2. ระดับท้องถิ่น
     2.1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ส.ท.)
     2.2 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพฯ (ส.ก.)
     2.3 การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร
     2.4 การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์กรบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.)
     2.5 การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์กรบริหารส่วนตำบล (ส.อบต.)
     2.6 การเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยา (ส.มทย.)

ขั้นตอนการลงคะแนนเลือกตั้ง
1. ตรวจสอบรายชื่อและลำดับที่จากบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ประกาศไว้หน้าหน่วยเลือกตั้ง (ถ้ามีหนังสือแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปยังเจ้าบ้าน (ส.ส.11) ให้นำไปด้วย)
2. แสดงตนลงคะแนนยื่นบัตรประชาชนและลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
3. รับบัตรเลือกตั้งลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาบนต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง พร้อมรับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ
4. เข้าคูหาลงคะแนน ทำเครื่องหมายกากบาท X ลงในช่องทำเครื่องหมาย
- บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต เลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว
- บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ เลือกพรรคการเมืองได้เพียงพรรคเดียว
- หากไม่ต้องการเลือกใครหรือพรรคการเมืองได้ให้ทำเครื่องหมายกากบาท X ลงในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน
5. หย่อนบัตรด้วยตนเองเมื่อลงคะแนนเสร็จแล้วพับบัตรเลือกตั้งให้เรียบร้อย และหย่อนบัตรลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง


คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1. สัญชาติไทย(ผู้แปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า5ปี)
2. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
4. ไม่มีลักษณะต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ในการเลือกตั้ง
      (1)วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
      (2)เป็นภิกษุ สามเณร  นักพรต หรือนักบวช
      (3)ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
      (4)อยู่ระหว่างการเพิกถอนสิทธิในการเลือกตั้ง

เราควรมีวิจารณญาณในการเลือกตั้งผู้ที่มีคุณสมบัติ
1. รักความเป็นธรรมและความเสมอภาค (Adhere to equality and justice)
ยึดถือความยุติธรรม ให้ความสำคัญกับความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกันทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในฐานะที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน โดยไม่มีการกีดกัน เนื่องจากความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง
2. ใช้เสรีภาพด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Use freedom based on social responsibility)
บุคคลในระบอบประชาธิปไตยย่อมมีเสรีภาพได้มากตราบเท่าที่ไม่ละเมิดผู้อื่น นั่นหมายความว่าบุคคลพึงใช้เสรีภาพด้วยความยินดีที่จะให้ผู้อื่นมีเสรีภาพได้เช่นเดียวกับตน กล่าวคือบุคคลย่อมใช้เสรีภาพอย่างรับผิดชอบโดยที่เสรีภาพนั้นต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียแก่ผู้อื่น ระบอบประชาธิปไตยไม่สามารถให้บุคคลใช้เสรีภาพโดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวมได้
3. เคารพกฎหมายและกฎกติกา (Respect law and rule)
ทุกสังคมต้องมีกฎหมายและกฎกติกา บุคคลในระบอบประชาธิปไตยจึงต้องเคารพกฎหมายและกฎกติกาเพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยที่บุคคลในระบอบประชาธิปไตยทุกคนจะต้องสนใจและช่วยกันผลักดันให้กฎหมายและกฎกตกาต่างๆของสังคมมีความเป็นธรรมสำหรับทุกคนด้วย
4. ใช้สิทธิแต่ไม่ละทิ้งหน้าที่ (Use right without neglecting duty)
ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการเมืองการปกครองที่บุคคลได้รับการรับรองสิทธิต่างๆมากมายในฐานะมนุษย์และในฐานะอื่นๆ นอกจากนั้นบุคคลในระบอบประชาธิปไตยก็ย่อมมีสิทธิที่จะให้ด้วย สิทธิที่จะให้นี้ก็คือหน้าที่นั่นเอง เช่น หน้าที่ในการเลือกตั้ง หน้าที่ในการเสียภาษี หน้าที่ในการศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น บุคคลในระบอบประชาธิปไตยจะมีสิทธิต่างๆได้ก็ต้องทำหน้าที่ด้วย เป็นต้าว่า บุคคลมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากรัฐบุคคลก็ย่อมต้องมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วย บุคคลมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากนโยบายที่ดีของรัฐบาลบุคคลก็ย่อมต้องมีหน้าที่ในการใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างมีวิจารณญาณที่ดีด้วย ระบอบประชาธิปไตยไม่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยดีหากบุคคลเรียกร้องสิทธิโดยไม่ต้องทำหน้าที่
5. มีภราดรภาพและเคารพความแตกต่าง (Adhere to fraternity and respect for differences)
การที่บุคคลในระบอบประชาธิปไตยมีความเสมอภาคกันอาจทำให้บุคคลในสังคมขัดแย้งแตกแยกกัน เพราะบุคคลในระบอบประชาธิปไตยย่อมมีความแตกต่างกันในทางความคิดเห็นหรืออื่นๆได้ แต่ความแตกต่างเหล่านี้ต้องไม่เป็นเหตุให้บุคคลโกรธ เกลียด ทะเลาะ ขัดแย้ง ทำร้าย หรือสังหารบุคคลอื่นได้ บุคคลในระบอบประชาธิปไตยต้องมีขันติธรรม (tolerance)
กล่าวคือบุคคลในระบอบประชาธิปไตยต้องอดทนต่อความแตกต่างของกันและกันได้ ความแตกต่างของบุคคลในระบอบประชาธิปไตยต้องไม่ทำให้สังคมแตกแยก
6. เห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวม (Consider public interests)
เนื่องจากบุคคลไม่สามารถอยู่คนเดียวในโลกได้ จึงต้องอยู่ร่วมกันในสังคม บุคคลจึงต้องถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญด้วย เพราะหากทุกคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนสำคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม สังคมก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้ และในกรณีที่มีความขัดกันในผลประโยชน์ (conflict of interests) บุคคลในระบอบประชาธิปไตยต้องสามารถแยกประโยชน์ส่วนรวมกับประโยชน์ส่วนตนได้ ทั้งยังพึงเล็งเห็นให้ได้ว่า แท้ที่จริงประโยชน์ของส่วนรวมก็เป็นประโยชน์ของบุคคลนั้นเองด้วย
7. มีส่วนร่วมทางการเมือง (Participate in politics)
ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการเมืองการปกครองที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยเพราะการเมืองเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน ดังนั้นบุคคลในระบอบประชาธิปไตยจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองที่เพียงพอต่อการเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยด้วย เป็นต้นว่า บุคคลในระบอบประชาธิปไตยพึงรู้และเข้าใจว่าการเมืองมีความสำคัญต่อชีวิตของตนและคนอื่นๆในสังคมอย่างไรรู้และเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของระบบการเมืองการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศ รู้และเข้าใจขอบเขตภารกิจและอำนาจหน้าที่ของตัวแทนที่เลือกเข้าไป รู้นโยบายของพรรคการเมือง รวมถึงพฤติกรรมและกลไกการควบคุมตรวจสอบบุคลากรทางการเมืองด้วยนอกจากนี้พลเมืองใน ระบอบประชาธิปไตยยังสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้หลายทาง



วงจรการเลือกตั้งของประเทศไทย